สถานที่ของ ตำบลจันดี อำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานีคลองจันดี
สถานีรถไฟคลองจันดี ตั้งอยู่บนทางหลวง
4195 อยู่ในเขตเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ สถานีนี้เป็นสถานีสำคัญเพราะ
เป็นจุดลงรถสำหรับผู้โดยสารที่ต้องการไป อำเภอลานสกา อำเภอพิปูน อำเภอช้างกลางและอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช
แต่ไม่ได้ขึ้นรถขบวนที่เข้าตัวจังหวัดนครศรีธรรมราช และถ้าลงสถานีนี้
สามารถไปที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ ตลาดน้ำจันดี วัดธาตุน้อย(อยู่ในเขตอำเภอช้างกลาง)โดยข้ามคลองจันดีไป
1 กิโลเมตร อ่างเก็บน้ำคลองดินแดง อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน และ ภูเขาพระ
ตลาดจันดี
ตำบลจันดี เป็นตำบลเล็ก ๆ ตำบลหนึ่งของอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอฉวาง
ตำบลจันดีปกครองโดยแบ่งออกเป็น 5 หมู่บ้าน
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
1.วัดธาตุน้อย (จันดีเก่า)
2.ตลาดพอเพียง (ตลาดยามบ่าย)
3.ตลาดเช้าริมรถไฟ
หน้าสถานีรถไฟคลองจันดี
4.น้ำตกท่าแพ
5.จุดชมวิวเขาเหมน
วัดธาตุน้อย
วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๕ ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือนยี่
ปีฉลู พ่อท่านคล้ายวางศิลาฤกษ์สร้างพระเจดีย์ “ธาตุน้อย”
บนที่ดินของผู้ใหญ่กลับ งามพร้อม
ซึ่งได้ถวายพ่อท่านคล้ายตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๘๗
โดยพ่อท่านคล้ายเป็นประธานสงฆ์ประกอบพิธี, พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชเป็นประธานฝ่ายฆราวาส,
และหลวงพ่อครื้นเป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง
แนวคิดในการสร้างพระเจดีย์ธาตุน้อยนั้น พ่อท่านคล้ายได้กล่าวไว้ก่อนที่จะสร้างว่า “ฉันจะสร้างเจดีย์องค์ใหญ่สักองค์ ให้เหมือนพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช
แต่ไม่ให้ใหญ่กว่า เพราะพระบรมธาตุนั้นเจ้าเค้าสร้าง”
ในการขุดดินวางฐานรากจะขุดเป็นวงกลม
ลึกประมาณ ๒ เมตรเศษ ตอกเสาเข็มด้วยเสาเข็มไม้แดง
หลังจากนั้นเทคอนกรีตทับเสาเข็มกับหินก้อนใหญ่ ซึ่งการรถไฟนำมาบริจาคช่วยเหลือ
วางหินทับหน้าประมาณครึ่งเมตร ต่อจากนั้นตั้งคานคอนกรีตเสริมเหล็กรางรถไฟ
ผ่านแท่นฐานผ่านวงกลมออกไปเชื่อมโยง ถึงตัวคานข้างนอกและตั้งคานซอย
ซึ่งคานคอนกรีตจะใช้เหล็กรางรถไฟแทบทั้งสิ้น
ในการสร้างพระธาตุเจดีย์ธาตุน้อย
ได้นำเอาพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราชเป็นต้นแบบ
พร้อมทั้งองค์ประกอบต่างๆที่สำคัญมาทั้งสิ้นคือ
๑.พระธาตุเจดีย์
หมายถึงพระนิพพาน
๒.พระพุทธไสยาสน์ หมายถึงพระพุทธเจ้า
๓.เจดีย์บริวาร(เจดีย์ราย) หมายถึงพระอรหันต์
๔.พระด้าน(พระพุทธรูปรอบพระเจดีย์) หมายถึงพระอรหันต์ทั้ง ๑,๒๕๐ รูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น